1.12.52

บทความเรื่อง ภาพมีชีวิต

ภาพมีชีวิต คุณอาจสงสัยว่าภาพมีชีวิตจริงหรือ มันไม่ใช่อย่างนั้นหรอกนะคะ ภาพมีชีวิตที่ดิฉันพูดถึงนั้นหมายถึงภาพหลายๆภาพนำมาต่อกันหรือที่เราเรียกกันจนอาจจะคุ้นหูว่าแอนิเมชั่นนั่นเองค่ะ แอนิเมชั่นหมายถึงภาพหลายๆเฟรมที่นำมาทำให้ต่อเนื่องกัน จนสามารถเคลื่อนไหวได้และเราก็จะมองภาพเหล่านั้นเป็น ภาพมีชีวิตค่ะ ดิฉันได้มีโอกาสศึกษาเรื่องแอนิเมชั่นอยู่ประมาณ 3-4สัปดาห์ จึงทำให้ดิฉันพอมีความเข้าใจเกี่ยวกับแอนิเมชั่นอยู่บ้าง ดิฉันยังรู้มาอีกว่ากว่าจะได้แอนิเมชั่นมายากเย็นแค่ไหน กว่าเราจะทำแอนิเมชั่นได้1เรื่องนั้นใช้เวลากว่า1เดือนเศษ เพราะการทำแอนิเมชั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การทำแอนิเมชั่นนั้นมีขั้นตอนในการทำที่ซับซ้อนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การคิดตรีมเรื่อง เริ่มร่างโครงเรื่อง สคริปต์ Story broad หลังจาก4ขั้นตอนนี้แล้ว เราก็จะสามารถทำตัวการ์ตูนที่เราออกแบบไว้ให้ตรงกับตรีมเรื่องและขั้นตอนในการทำแอนิเมชั่นที่สำคัญที่สุดคือ Stop motion Stop motion นั้นก็คือการถ่ายภาพที่มีหุ่นจำลองแต่ถ้าถ่ายภาพแล้วบริเวณที่กำลังจะถ่ายมีแสงน้อยจนเกินไปหรือภาพที่ถ่ายขยับเร็วเกินไปจะทำให้แอนิเมชั่นของเราดูไม่สมจริง ส่วนขั้นตอนที่ยังไม่สุดท้ายคือการอัดเสียงปรับแต่งเสียงค่ะและแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ขั้นตอนที่กล่าวถึงนี้คือ การเรียงภาพและปรับแต่งเพื่อให้เรื่องที่ออกมาหน้าสนใจขึ้น ถ้าท่านผู้อ่านอ่านแล้วอยากลองนำกันไปทำกันดู แต่ยังคิดว่ามันยากจนเกินไป ข้าพเจ้าก็อยากให้ลองทำ Filp book คือภาพที่ขยับจากการวาดรูปลงบนสมุดหนังสือให้ดูแล้วต่อเนื่องกัน ถ้ามีเวลาว่างก็ลองทำดูสักครั้งนะคะดิฉันคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ว แอนิเมชั่นไม่ได้ยากจนเกินความสามารถของท่าน ดิฉันเชื่อว่าทุกๆท่านจะทำได้อยู่แล้วเพียงแค่มีความพยายามและอดทนสูงเราก็จะสามารถทำแอนิเมชั่นในรูปแบบของเราได้โดยที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนค่ะ

2 ความคิดเห็น:

©2009 By Ideacom Creative 2008